วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การท่องเที่ยว(Tourism)

การท่องเที่ยว(Tourism) (พ.ศ.2506)
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการตามข้อตกลงการประชุมขององค์การสหประชาชาติ
หมายถึง
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือ
หารายได้
การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว เช่น
*การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
*การเดินทางไปพักฟื้น หรือรักษาตัว ณ สถานที่ต่างๆ
*การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกีฬาที่ต่างประเทศ
*การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง
การเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว เช่น
*การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
*การเดินทางไปประกอบอาชีพ หรือไปทำงาน ต่างประเทศ
*การเดินทางโดยไม่เต็มใจ อาทิ การเดินทางด้วยการถูกบังคับ/ ลี้ภัยทางการเมือง
ล่อลวง ขู่เข็ญ
จากนิยามการท่องเที่ยวในพ.ศ.2506ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่าผู้เยี่ยมเยือน (Visitor) จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist) หมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน แต่ไม่เกิน 1 ปี ได้แก่
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือเดิมเป็นคนในถิ่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ได้มีถิ่นพำนักใน
สถานที่ที่ไปเยือนมาแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนัก ณ สถานที่ที่ไปเยือน และมีการค้างคืน ณ สถานที่ที่ไป
เยือน
๒.นักทัศนาจร (Excursionist) ผู้มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน ได้แก่
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งมาแวะพักชั่วคราว ไม่พักค้างคืน
-ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นภายในวันเดียว (Same-day visitor)
-ลูกเรือ ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆ และแวะพักเพียงชั่วคราว ไม่เกิน 24
ชั่วโมงแบ่งออกเป็น
*ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวใน ประเทศ อีกครั้งหนึ่ง
*ผู้มาเยือนขาออก (Outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยว ที่ต่างประเทศ
*ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่น พำนักอยู่
*อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้*
วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดที่จำกัด ดังนั้นจึงพยายามไม่เอาหน้าที่การงาน ความจำเจของชีวิตประจำวันมาเกี่ยวข้อง การเดินทางไปอาบแดด เล่นน้ำตก สวนสนุก เป็นต้น
การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร (Visiting Friends and Relatives: VFR)
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business)
แม้ว่าการท่องเที่ยวทางธุรกิจดูเหมือนจะมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน แต่การทำงานนั้นเป็นเพียงกระบวนการในการสร้างรายได้ในอนาคต อาทิ การติดต่อทางการค้า การประชุม เป็นต้น แบ่งออกเป็น
- การเดินทางเพื่อธุรกิจโดยทั่วไป
- การเดินทางเพื่อการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และจัดแสดง
นิทรรศการนานาชาติ (MICE)
การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism )
เป็นการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น จากแค่เพียงต้องการพักผ่อน เพลิดเพลิน นักท่องเที่ยวต้องการที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ ในระดับที่ลึก เป็นต้น
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
*การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
*การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
*การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
*การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
*กรุ๊ปเหมา
*กรุ๊ปจัด
*การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
*เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
*เพื่อธุรกิจ
*เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
รูปแบบการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน เพราะวัฒนธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มองเห็น เป็นวัตถุหรือเป็นการแสดง เช่น ชมตลาดน้ำ ชมการรำไทย การชมวัด ชมวัง อุทยานประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism)
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น การเรียนรำไทย
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่ง ขึ้นมิใช่ผ่านวัตถุหรือการแสดงที่จัดขึ้น
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆคือ
1.เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ “บริการ” ผู้บริโภคหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น บุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญอย่างมาก
2.เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั้นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ
3.เป็นสินค้าที่ไม่สูญสลาย
เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด

4.เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้
เนื่องจากสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เมื่อผู้เยี่ยมเยือนได้ซื้อสินค้าแล้ว สินค้าบางประเภทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ อาทิ อาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น แต่บางประเภทเพียงแค่ได้สิทธิ์ในการใช้ หรือชม อาทิ การจ่ายค่าห้องโรงแรม ไม่ใช่การได้เป็นเจ้าของห้อง เพียงแต่ได้สิทธิ์ในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อเข้ามาที่น้ำตก ทะเล ภูเขา ผู้เยี่ยมเยือนไม่ได้เป็นเจ้าของน้ำตก ทะเล ภูเขา เพียงแต่ได้เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท “บริการ” อาทิ รอยยิ้ม ความช่วยเหลือ การดูแล ผู้เยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับ “บริการ” เหล่านั้นในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของ
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำแนกออกเป็น
1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
-สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
-ธุรกิจที่พักแรม
-ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
-ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
2.องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
-ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
-ธุรกิจ MICE
-การบริการข่าวสารข้อมูล
-การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
-การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ทางเศรษฐกิจ
-เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ
-ช่วยลดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
-ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน
-ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้
-ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตทางเศรษฐกิจ
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น
-ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม
-ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
-ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา
-ช่วยลดปัญหาความแออัดในเมืองหลวง
-ช่วยเกิดให้เกิดการนำทรัพยากรที่ไร้ค่าในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า
ทางด้านการเมือง
-ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี
-ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น