วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่ง
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้
พัฒนาการขนส่งทางบก
เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งใช้คนลากรถ2ล้อ ก่อนที่จะนำสัตว์มาช่วยลาก ต่อมาปีค.ศ. 1480 ได้มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสาร ในประเทศอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก
ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเพื่อใช้กับเรือและรถไฟ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ต่อมา ความนิยมรถไฟลดน้อยลง จึงมีการประดิษฐ์และพัฒนารถยนต์ขึ้นในปีค.ศ. 1920
พัฒนากานขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำ เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยเริ่มจากแพ ต่อมามีกานนำต้นไม้มาขุดเป็นเรือ หลังจากนั้น ก็ได้มีการพัฒนาขึ้น โดยนำหนังสัตว์มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือ เรียกว่า เรือหนังสัตว์
จนกระทั่งปีค.ศ. 1819 มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ(Savannah) ด้วยความที่ค่าโดยสารทางเรือในสมัยนั้น ราคาค่อนข้างแพง ทำให้มีผู้โดยสารน้อย จึงมีการลดค่าโดยสารลง และเริ่มพัฒนามาจนกลายเป็นเรือสำราญ
พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
ประมาณหลังปีค.ศ.1903 2พี่น้องตระกูล Wright ได้ประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก เที่ยวบินที่ให้บริการในการขนส่งผู้โดยสารได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่าง Boston-Newyork ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องบินได้ถูกดัดแปลงเป็นยานพาหนะของทหาร จนสงครามสงบลง ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์
ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
- ธุรกิจการเช่ารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1.บริษัทเช่ารถระหว่างประเทศขนาดใหญ่
2. บริษัทเช่ารถขนาดเล็กอิสระ
- รถตู้เพื่อนันทนาการ
- รถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. รถโดยสารประจำทาง
2. รถเช่าเหมา
2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภท
- เรือเดินทะเล(Ocean-lines)
- เรือสำราญ(Cruise ships/lines)
- เรือข้ามฟาก(Ferry)
- เรือใบและเรือยอร์ช(Sail cruise and yacht)
- เรือบรรทุกสินค้า(Cargo lines)
3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
3.1 การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองโดยมีตารางบินที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
* เที่ยวบินประจำภายในประเทศ(Domestic flight)
* เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ(International flight)
3.2 การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง และสามารถแวะรับส่งผู้โดยสารทั่วไปไม่ต้องเป็นกลุ่มเดิมได้ จึงได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
3.3 การบินลักษณะเที่ยวเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกสมาคมหรือองค์กร หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้น ราคาค่าโดยสารถูกกว่าราคาเยวบินของสายการบินปรกติ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
หากไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้นๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
2. จุดหมายปลายทาง (Destination) สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วไป หรืออาจจะเป็นหลายๆสถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
3. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(Tourist Attraction) สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
ขอบเขต
อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขต ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) และจุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination)
ความเป็นเจ้าของ
แหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสถานที่ทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ผู้ที่จัดได้ว่าเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ รัฐบาลและเอกชน
ความคงทนถาวร
คือการแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็นสถานที่ อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ เทศกาลมักมีช่วงเวลาของกาลดำเนินงาน
ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงในบางส่วน
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้น กรมศิลปากรได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ
3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
4. ย่านประวัติศาสตร์
5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ

7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล แรงจูงใจของการท่องเที่ยวหรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิยา(Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อที่จะสนองความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้น
1.) ความต้องการทางด้านสรีระ(Physiological) เป็นความต้องการที่จะมีชีวิตรอด
2.) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต (Safety needs) เป็นความต้องการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความมั่นคง ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีระบบระเบียบ
3.) ความต้องการทางด้านสังคม (Social needs) ความต้องการที่จะได้อยู่ในกลุ่ม ต้องการที่จะมีเพื่อน ต้องการที่จะให้ความรักและถูกรัก
4.) ความต้องการที่จะมีเกียรติชื่อเสียง (Self-esteem needs) ต้องการที่จะเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ เป็นผู้ประสบความสำเร็จ มีความสามารถ มีตำแหน่ง ชื่อเสียง ได้รับการนับถือ ชมเชย
5.) ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (Self-actualization needs) เป็นความต้องการที่จะกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าตนมีความสามารถที่จะทำได้
2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)
ผู้เสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฎีของ Maslow แต่ต่างกันตรงที่ ขั้นที่1-4 ของMaslow ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น ยกเว้นขั้นสูงสุด เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda Crompton) มี 7 ประเภทดังนี้
1. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ (Escape from mundane environment)
2. การสำรวจและประเมินตนเอง (Exploration of self)
3. การพักผ่อน (Relaxation)
4. ความต้องการเกียรติภูมิ (Prestige)
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม (Regression)
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ (Enhancement of kinship relationship)
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม (Facilitation of social interaction)
4. แรงจูงใจในการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke) จำแนกออกเป็น 6 ชนิด
1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ คือความต้องการที่จะพักผ่อนหย่อนใจจากความเหน็ดเหนื่อย ความจำเจ
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม ความสนใจที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมแปลกใหม่
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง เพราะต้องการเห็นสิ่งที่เป็นอดีต สิ่งที่หาไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ คือแรงจูงใจที่อยากได้ชื่อว่าเที่ยวแล้ว มีหน้ามีตา มีคนพูดถึงหรือชื่นชมเมื่อได้ทำสำเร็จ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง บางคนเดินทางเพื่อหาความรู้และทักษะใหม่ๆ
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล เช่น ไปเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน พาผู้อื่นไปเที่ยวเพื่อเอาใจ
แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
Pearce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้เสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไว้ 10 ประการ
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
1. การหลีกหนี(Escape)
2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
3. การทำงาน(Employment)
4. เน้นการคบหาสมาคม(Social focus)
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
1. ระบบไฟฟ้า
จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการหรือในกรณีที่เกิดความต้องการที่จะต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับปั่นไฟไว้ให้เพียงพอ
2. ระบบประปา
ควรจะสะอาด ถูกหลักอนามัย มีปริมาณเพียงพอ และมีการกระจายอย่างทั่วถึง
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
โทรศัพท์มีสาย/ไร้สาย ไปรษณีย์ โทรเลข โทรสาร อีเมลล์ ระบบเหล่านี้ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึง
4. ระบบขนส่ง
4.1 ระบบการเดินทางทางอากาศ ควรจัดให้มีเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
4.2 ระบบการเดินทางทางบก เส้นทางถนน และเส้นทางรถไฟต่างๆควรจัดให้มีครอบคลุมทุกพื้นที่
4.3 ระบบการเดินทางทางน้ำ ควรพัฒนาเส้นทางทางน้ำ ให้เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว
5. ระบบสาธารณสุข
ควรมีระบบสาธารณสุขที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีได้ 2 ลักษณะ คือ
1.) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก
2.) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกัน จะมีสภาพอากาศแตกต่างกัน
2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมของแต่ละชาติเปลี่ยนแปลงได้ และแต่ละชาติมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจและส่งเสริมให้คนต่างวัฒนธรรมเข้ามาเที่ยวชมความแตกต่าง