วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่ง
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้
พัฒนาการขนส่งทางบก
เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งใช้คนลากรถ2ล้อ ก่อนที่จะนำสัตว์มาช่วยลาก ต่อมาปีค.ศ. 1480 ได้มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสาร ในประเทศอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก
ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเพื่อใช้กับเรือและรถไฟ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ต่อมา ความนิยมรถไฟลดน้อยลง จึงมีการประดิษฐ์และพัฒนารถยนต์ขึ้นในปีค.ศ. 1920
พัฒนากานขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำ เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยเริ่มจากแพ ต่อมามีกานนำต้นไม้มาขุดเป็นเรือ หลังจากนั้น ก็ได้มีการพัฒนาขึ้น โดยนำหนังสัตว์มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือ เรียกว่า เรือหนังสัตว์
จนกระทั่งปีค.ศ. 1819 มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ(Savannah) ด้วยความที่ค่าโดยสารทางเรือในสมัยนั้น ราคาค่อนข้างแพง ทำให้มีผู้โดยสารน้อย จึงมีการลดค่าโดยสารลง และเริ่มพัฒนามาจนกลายเป็นเรือสำราญ
พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
ประมาณหลังปีค.ศ.1903 2พี่น้องตระกูล Wright ได้ประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก เที่ยวบินที่ให้บริการในการขนส่งผู้โดยสารได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่าง Boston-Newyork ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องบินได้ถูกดัดแปลงเป็นยานพาหนะของทหาร จนสงครามสงบลง ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์
ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
- การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
- ธุรกิจการเช่ารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1.บริษัทเช่ารถระหว่างประเทศขนาดใหญ่
2. บริษัทเช่ารถขนาดเล็กอิสระ
- รถตู้เพื่อนันทนาการ
- รถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. รถโดยสารประจำทาง
2. รถเช่าเหมา
2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภท
- เรือเดินทะเล(Ocean-lines)
- เรือสำราญ(Cruise ships/lines)
- เรือข้ามฟาก(Ferry)
- เรือใบและเรือยอร์ช(Sail cruise and yacht)
- เรือบรรทุกสินค้า(Cargo lines)
3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
3.1 การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองโดยมีตารางบินที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
* เที่ยวบินประจำภายในประเทศ(Domestic flight)
* เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ(International flight)
3.2 การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง และสามารถแวะรับส่งผู้โดยสารทั่วไปไม่ต้องเป็นกลุ่มเดิมได้ จึงได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
3.3 การบินลักษณะเที่ยวเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกสมาคมหรือองค์กร หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้น ราคาค่าโดยสารถูกกว่าราคาเยวบินของสายการบินปรกติ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
หากไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้นๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม
2. จุดหมายปลายทาง (Destination) สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วไป หรืออาจจะเป็นหลายๆสถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
3. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(Tourist Attraction) สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
ขอบเขต
อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขต ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) และจุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination)
ความเป็นเจ้าของ
แหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสถานที่ทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ผู้ที่จัดได้ว่าเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ รัฐบาลและเอกชน
ความคงทนถาวร
คือการแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็นสถานที่ อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ เทศกาลมักมีช่วงเวลาของกาลดำเนินงาน
ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงในบางส่วน
แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้น กรมศิลปากรได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ
3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
4. ย่านประวัติศาสตร์
5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ

7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล แรงจูงใจของการท่องเที่ยวหรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิยา(Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อที่จะสนองความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้น
1.) ความต้องการทางด้านสรีระ(Physiological) เป็นความต้องการที่จะมีชีวิตรอด
2.) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต (Safety needs) เป็นความต้องการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความมั่นคง ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีระบบระเบียบ
3.) ความต้องการทางด้านสังคม (Social needs) ความต้องการที่จะได้อยู่ในกลุ่ม ต้องการที่จะมีเพื่อน ต้องการที่จะให้ความรักและถูกรัก
4.) ความต้องการที่จะมีเกียรติชื่อเสียง (Self-esteem needs) ต้องการที่จะเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ เป็นผู้ประสบความสำเร็จ มีความสามารถ มีตำแหน่ง ชื่อเสียง ได้รับการนับถือ ชมเชย
5.) ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (Self-actualization needs) เป็นความต้องการที่จะกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าตนมีความสามารถที่จะทำได้
2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)
ผู้เสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฎีของ Maslow แต่ต่างกันตรงที่ ขั้นที่1-4 ของMaslow ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น ยกเว้นขั้นสูงสุด เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda Crompton) มี 7 ประเภทดังนี้
1. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ (Escape from mundane environment)
2. การสำรวจและประเมินตนเอง (Exploration of self)
3. การพักผ่อน (Relaxation)
4. ความต้องการเกียรติภูมิ (Prestige)
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม (Regression)
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ (Enhancement of kinship relationship)
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม (Facilitation of social interaction)
4. แรงจูงใจในการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke) จำแนกออกเป็น 6 ชนิด
1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ คือความต้องการที่จะพักผ่อนหย่อนใจจากความเหน็ดเหนื่อย ความจำเจ
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม ความสนใจที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมแปลกใหม่
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง เพราะต้องการเห็นสิ่งที่เป็นอดีต สิ่งที่หาไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ คือแรงจูงใจที่อยากได้ชื่อว่าเที่ยวแล้ว มีหน้ามีตา มีคนพูดถึงหรือชื่นชมเมื่อได้ทำสำเร็จ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง บางคนเดินทางเพื่อหาความรู้และทักษะใหม่ๆ
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล เช่น ไปเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน พาผู้อื่นไปเที่ยวเพื่อเอาใจ
แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
Pearce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้เสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไว้ 10 ประการ
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
1. การหลีกหนี(Escape)
2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
3. การทำงาน(Employment)
4. เน้นการคบหาสมาคม(Social focus)
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
1. ระบบไฟฟ้า
จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการหรือในกรณีที่เกิดความต้องการที่จะต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับปั่นไฟไว้ให้เพียงพอ
2. ระบบประปา
ควรจะสะอาด ถูกหลักอนามัย มีปริมาณเพียงพอ และมีการกระจายอย่างทั่วถึง
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
โทรศัพท์มีสาย/ไร้สาย ไปรษณีย์ โทรเลข โทรสาร อีเมลล์ ระบบเหล่านี้ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึง
4. ระบบขนส่ง
4.1 ระบบการเดินทางทางอากาศ ควรจัดให้มีเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
4.2 ระบบการเดินทางทางบก เส้นทางถนน และเส้นทางรถไฟต่างๆควรจัดให้มีครอบคลุมทุกพื้นที่
4.3 ระบบการเดินทางทางน้ำ ควรพัฒนาเส้นทางทางน้ำ ให้เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว
5. ระบบสาธารณสุข
ควรมีระบบสาธารณสุขที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีได้ 2 ลักษณะ คือ
1.) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก
2.) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกัน จะมีสภาพอากาศแตกต่างกัน
2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมของแต่ละชาติเปลี่ยนแปลงได้ และแต่ละชาติมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจและส่งเสริมให้คนต่างวัฒนธรรมเข้ามาเที่ยวชมความแตกต่าง

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกของปินโต

395 ปี บันทึกของปินโต
บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต(Fernão Mendez Pintoค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้น
ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า ราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชียเขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย
โตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง เคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีก โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”
รูปแบบการนำเสนอ
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação”งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง
คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่
ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส
[1] จนเป็นที่มาของการตั้ง “กรมทหารฝารั่งแม่นปืน” ใน หนังสือ“ศักดินาทหารหัวเมือง” งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล หนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา
หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
ใครจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ”
สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักร บาบิโลน และอาณาจักรอิยิปต์
-การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักร
บาบิโลน
-มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียน
ไว้ที่ผนัง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก

เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ เป็นสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า มีการเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส นอกจากนี้ยังมีการเดินทางเพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์เมื่อมีการเดินทาง จึงทำให้เกิดการสร้างที่พักแรมระหว่างทาง เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพียงแค่ห้องนอนแคบๆ เท่านั้น
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า “แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism) ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns) ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย
ยุคกลาง หรือ ยุคมืด ( Middle Age or Dark Age)ประมาณ ค.ศ. 500-1500
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน และวันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น กลุ่มคนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury’s tales และเป็นยุคแห่งความเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance)
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว (Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได้
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ มีการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา และมีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง ผู้คนก็หันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง มีการพัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
พอมาในช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนก็มักนิยมออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย
สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า จึงมีการปรับปรุงเส้นทางทางน้ำเพื่อการคมนาคม ตลอดจนเส้นทางทางบก เพื่อความสะดวกสบายทางด้านการค้าเป็นหลัก และเพื่อการเดินทาง
กลุ่มคนที่มีการเดินทางในสมัยอยุธยา มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นปกครอง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาขุนนางทั้งหลาย ในบางครั้งอาจจะมีไพร่ทาสติดตามไปเพื่อรับใช้เช่นกัน ในประมาณปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา ตามมาด้วย ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศส ของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การค้าขายติดต่อกับชาติตะวันตกลดน้อยลง หันไปค้าขายกับจีนมากขึ้น และพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาโดยทั่วไป ที่สำคัญคือ เคยมีการส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาทวีป และในลังกาเรียกนิกายสงฆ์ของตนว่า สยามวงศ์อีกด้วย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สมัยรัชกาลที่สอง ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ
สมัยรัชกาลที่สาม บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
สมัยรัชกาลที่สี่ ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง
สมัยรัชกาลที่ห้า ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
สมัยรัชกาลที่หก มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย
สรุปแล้ว วิวัฒนาการทางการท่องเที่ยวไทยช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากชนชั้นผู้ปกครอง แล้วค่อยขยายลงสู่ภาคประชาชน
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การท่องเที่ยว(Tourism)

การท่องเที่ยว(Tourism) (พ.ศ.2506)
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการตามข้อตกลงการประชุมขององค์การสหประชาชาติ
หมายถึง
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือ
หารายได้
การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว เช่น
*การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
*การเดินทางไปพักฟื้น หรือรักษาตัว ณ สถานที่ต่างๆ
*การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกีฬาที่ต่างประเทศ
*การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง
การเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว เช่น
*การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
*การเดินทางไปประกอบอาชีพ หรือไปทำงาน ต่างประเทศ
*การเดินทางโดยไม่เต็มใจ อาทิ การเดินทางด้วยการถูกบังคับ/ ลี้ภัยทางการเมือง
ล่อลวง ขู่เข็ญ
จากนิยามการท่องเที่ยวในพ.ศ.2506ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่าผู้เยี่ยมเยือน (Visitor) จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist) หมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน แต่ไม่เกิน 1 ปี ได้แก่
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือเดิมเป็นคนในถิ่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ได้มีถิ่นพำนักใน
สถานที่ที่ไปเยือนมาแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนัก ณ สถานที่ที่ไปเยือน และมีการค้างคืน ณ สถานที่ที่ไป
เยือน
๒.นักทัศนาจร (Excursionist) ผู้มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน ได้แก่
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งมาแวะพักชั่วคราว ไม่พักค้างคืน
-ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นภายในวันเดียว (Same-day visitor)
-ลูกเรือ ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆ และแวะพักเพียงชั่วคราว ไม่เกิน 24
ชั่วโมงแบ่งออกเป็น
*ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวใน ประเทศ อีกครั้งหนึ่ง
*ผู้มาเยือนขาออก (Outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยว ที่ต่างประเทศ
*ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่น พำนักอยู่
*อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้*
วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)
ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดที่จำกัด ดังนั้นจึงพยายามไม่เอาหน้าที่การงาน ความจำเจของชีวิตประจำวันมาเกี่ยวข้อง การเดินทางไปอาบแดด เล่นน้ำตก สวนสนุก เป็นต้น
การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร (Visiting Friends and Relatives: VFR)
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business)
แม้ว่าการท่องเที่ยวทางธุรกิจดูเหมือนจะมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน แต่การทำงานนั้นเป็นเพียงกระบวนการในการสร้างรายได้ในอนาคต อาทิ การติดต่อทางการค้า การประชุม เป็นต้น แบ่งออกเป็น
- การเดินทางเพื่อธุรกิจโดยทั่วไป
- การเดินทางเพื่อการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และจัดแสดง
นิทรรศการนานาชาติ (MICE)
การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism )
เป็นการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น จากแค่เพียงต้องการพักผ่อน เพลิดเพลิน นักท่องเที่ยวต้องการที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ ในระดับที่ลึก เป็นต้น
ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
*การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
*การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
*การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
*การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
*กรุ๊ปเหมา
*กรุ๊ปจัด
*การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
*เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
*เพื่อธุรกิจ
*เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
รูปแบบการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน เพราะวัฒนธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มองเห็น เป็นวัตถุหรือเป็นการแสดง เช่น ชมตลาดน้ำ ชมการรำไทย การชมวัด ชมวัง อุทยานประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism)
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น การเรียนรำไทย
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่ง ขึ้นมิใช่ผ่านวัตถุหรือการแสดงที่จัดขึ้น
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆคือ
1.เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ “บริการ” ผู้บริโภคหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น บุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญอย่างมาก
2.เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั้นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ
3.เป็นสินค้าที่ไม่สูญสลาย
เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด

4.เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้
เนื่องจากสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เมื่อผู้เยี่ยมเยือนได้ซื้อสินค้าแล้ว สินค้าบางประเภทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ อาทิ อาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น แต่บางประเภทเพียงแค่ได้สิทธิ์ในการใช้ หรือชม อาทิ การจ่ายค่าห้องโรงแรม ไม่ใช่การได้เป็นเจ้าของห้อง เพียงแต่ได้สิทธิ์ในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อเข้ามาที่น้ำตก ทะเล ภูเขา ผู้เยี่ยมเยือนไม่ได้เป็นเจ้าของน้ำตก ทะเล ภูเขา เพียงแต่ได้เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท “บริการ” อาทิ รอยยิ้ม ความช่วยเหลือ การดูแล ผู้เยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับ “บริการ” เหล่านั้นในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของ
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำแนกออกเป็น
1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
-สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
-ธุรกิจที่พักแรม
-ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
-ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
2.องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
-ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
-ธุรกิจ MICE
-การบริการข่าวสารข้อมูล
-การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
-การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ทางเศรษฐกิจ
-เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ
-ช่วยลดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
-ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน
-ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้
-ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตทางเศรษฐกิจ
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น
-ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม
-ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
-ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา
-ช่วยลดปัญหาความแออัดในเมืองหลวง
-ช่วยเกิดให้เกิดการนำทรัพยากรที่ไร้ค่าในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า
ทางด้านการเมือง
-ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี
-ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

My profile



นางสาว เบญจพร พ่วงแดง


ชื่อเล่น- กวาง


การศึกษา- ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาจีนธุรกิจ
ที่อยู่- อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี